หน่วยที่ 1


1.1 ความหมายของกฎหมาย

         กฎหมาย หมายถึง คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย
 
1.2ความสำคัญของกฎหมาย

        กฎหมายเป็นบรรทัดฐานทางสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน ทำให้สังคมมีระเบียบ วินัย และสงบเรียบร้อย หากไม่มีกฎหมาย มนุษย์ซึ่งมักจะชอบทำอะไรตามใจตนเอง ถ้าต่างตนต่างทำตามใจและการกระทำนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ก็จะเกิดปัญหา ความขัดแย้ง มีการล้างแค้นได้โต้ตอบกันไปโต้ตอบกันมาไม่มีที่สิ้นสุด เพราะไม่มีกฎหมายเข้าไปจัดการให้ความเป็นธรรม ในที่สุดสังคมนั้นประเทศนั้นก็จะล่มสลายไม่สามารถดำรงอยู่ได้
       ปัจจุบันนี้ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็จะต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยตลอดเวลา เช่น เมื่อมีคนเกิดก็ต้องแจ้งเกิด ต้องตั้งชื่อ ต้องเข้าโรงเรียน อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ก็ต้องไปทำบัตรประจำตัวประชาชน นักเรียนที่อายุย่างเข้าปีที่ 18 ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน การสมรสอยู่กินเป็นครอบครัว การกู้ยืมเงิน ซื้อขาย การทำสัญญาต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทั้งสิ้น    รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชนมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย การรู้กฎหมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทุกคน ที่จะได้ทราบถึงของเขตของสิทธิ และหน้าที่ของตน ตลอดจนข้อปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อรู้กฎหมายก็จะได้ไม่ทำผิดกฎหมาย และไม่ถูกผู้อื่นเอารัดเอาเปรียบโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ     การทำผิดกฎหมาย หรือปัญหาข้อขัดแย้ง ข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างประชาชนด้วยกันเอง หรือประชาชนกับข้าราชการซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามเป็นข่าวฟ้องร้องกันไม่เว้นแต่ละวันนั้น มีสาเหตุมาจากความไม่รู้กฎมายทั้งสิน และเมื่อกระทำความผิดแล้วจะกล่าวอ้างแก้ตัวว่าที่กระทำลงไปนั้นเป็นเพราะไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้คนหลุดพ้นจากความรับผิดก็ไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่รู้กฎหมายจริง ๆ ก็ตาม เนื่องจากในทางกฎหมายมีหลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งว่า “ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว” เพราะถ้าหากว่าให้มีการกล่าวอ้างแก้ตัวได้ ทุกคนก็จะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายกันหมด เพื่อให้คนหลุดพ้นจากความรับผิด ในที่สุดกฎหมายก็จะขาดความศักดิ์สิทธิ์ และบังคับใช้กับใครไม่ได้อีกต่อไป

 1.3.องค์ประกอบของกฎหมาย

      1.องค์ประกอบภายนอก ได้แก่ การกระทำและสิ่งต่าง ๆ ที่กฎหมายอาญาบัญญัติว่าเป็นความผิด เท่าที่ปรากฏออกมา  ภายนอก คือเท่าที่ปรากฏออกมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หลักในการแบ่งแยกองค์ประกอบความผิดแต่ละความผิดนั้น คือ จะต้องตั้งต้นที่ "การกระทำ" ที่กฎหมายบัญญัติไว้เสียก่อน  ข้อยกเว้นมีในกรณีที่กฎหมายได้กำหนดคุณสมบัติของผู้กระทำด้วย เช่น กำหนดว่าผู้กระทำ จะต้องเป็นเจ้าพนักงานจึงจะทำผิดได้
      2.องค์ประกอบภายใน ได้แก่ เป็นเรื่องที่กฎหมายที่กำหนดความผิดได้กำหนดไว้เกี่ยวกับจิตใจของผู้กระทำผิด คือ
เจตนา มูลเหตุชักจูงใจและประมาทเจตนา (ป.อ.มาตรา ๕๙) เมื่อกฎหมายกำหนดว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้ว บุคคลนั้น ต้องกระทำโดยเจตนาจึงจะมีความผิด เว้นแต่ จะเข้าข้อยกเว้น กล่าวคือ (๑) กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าเป็นความผิด (๒) ความผิดลหุโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่ง แม้ไม่ได้กระทำโดยเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ถ้อยคำในตัวบทจะแสดงว่าต้องเจตนาจึงจะเป็นความผิด และ (๓) ความผิดตามพระราชบัญญัติอื่น ซึ่งระบุไว้ชัดแจ้งว่าแม้ไม่ได้กระทำโดยเจตนาก็เป็นความผิด ประมาท (ป.อ.มาตรา ๕๙) จะเป็นความผิดต่อเมื่อกฎหมายได้ระบุไว้ในมาตราที่บัญญัติถึงความผิดนั้นว่า การกระทำโดยประมาทมีความผิด ดังนั้น ถ้ามาตราใดในประมวลกฎหมาย
อาญาไม่มีคำว่า "ประมาท" แล้ว ต้องถือว่าผู้กระทำต้องมีเจตนาธรรมดาจึงจะมีความผิด
      ทั้งนี้ นอกจากข้อยกเว้น อีก ๒ ประการที่ มาตรา ๕๙ บัญญัติไว้ คือ
    (๑) ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา ซึ่ง  หมายถึงกฎหมายอื่นจาก      ประมวลกฎหมายอาญา
    (๒) ข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๐๔ บัญญัติว่า "การกระทำความผิด
ลหุโทษตามประมวลกฎหมายนี้ แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ ตาม
         บทบัญญัติความผิดนั้นจะมีความบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น"

1.4.ประเภทของกฏหมาย
         การแบ่งประเภทของกฏหมายโดยพิจารณาจากสภาพภูมิศาสตร์หรือขอบเขตการใช้กฏหมายมาเป็นแนวทางในการแบ่งประเภท อาจแบ่งกฏหมายได้เป็น 2 ประเภท คือ
        1. กฏหมายระหว่างประเทศ เป็นกฏหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน เป็นกฏหมายที่เกิดขึ้นจากความตกลงระหว่างรัฐ ซึ่งถือเป็นกติกาในการจัดระเบียบสังคมโลก ตัวอย่างเช่น กฏหมายการประกาศอาณาเขตน่านฟ้า การส่งผู้ร้ายขามแดน และสนธิสัญญาต่างๆ เป็นต้น
        2. กฏหมายภายในประเทศ เป็นกฏหมายที่ใช้บังคับภายในรัฐต่อบุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ภายในรัฐ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนของประเทศนั้นๆ หรือบุคคลต่างด้าว กฏหมายภายในประเทศยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ กฏหมายมหาชนและกฏหมายเอกชน
              •กฏหมายมหาชน หมายถึง กฏหมายที่รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นคู่กรณีด้วยกับเอกชน มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการปกครองรัฐ และควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนในฐานะที่รัฐจำต้อง รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และผลประโยชน์ของสาธารณะ โดยทั่วไปกฏหมายมหาชนแบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ

   ■รัฐธรรมนูญ เป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดรูปแบบและการปกครองของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตย และการกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่างๆ


  ■กฏหมายปกครอง เป็นกฏหมายที่ขยายความให้ละเอียดจากรัฐธรรมนูญบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรของรัฐ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการปฏิบัติการต่างๆ ตามกฏหมาย กำหนดสิทธิของประชาชนในการเกี่ยวพันกับรัฐ


  ■กฏหมายอาญา เป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติครอบคลุมเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของรัฐ ชุมชน และประชาชนโดยส่วนรวม วัตถุประสงค์ของกฏหมายเพื่อที่จะให้ความปลอดภัย สร้างความเป็นระเบียบของรัฐและรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน


  ■กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฏหมายที่กำหนดรายละเอียดวิธีพิจารณาคดีอาญาทางศาล


  ■พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กำหนดว่าในการพิจารณาคดีนั้น ศาลใดจะมีอำนาจในการพิจารณาคดีประเภทใด


             •กฏหมายเอกชน
        เป็นกฏหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับนิติบุคคล และบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่ให้บุคคลสามารถรักษาและป้องกันสิทธิมิให้ถูกละเมิดจากบุคคลอื่น เช่น กฏหมายเกี่ยวกับสัญญา การสมรส มรดก กฏหมายเอกชนแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

  ■กฏหมายแพ่ง เป็นกฏหมายที่กำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของเอกชน เช่น ความมีสภาพเป็นบุคคล ครอบครัว มรดก นิติกรรม เป็นต้น ซึ่งถ้ามีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของกันและกันแล้ว ไม่กระทบคนส่วนใหญ่ ลักษณะการลงโทษจึงมีเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น


 ■กฏหมายพาณิชย์ เป็นกฏหมายที่กำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลที่ประกอบการค้าและธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน การประกัน เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นลักษณะของกฏหมายจึงต่างจากกฏหมายแพ่ง


 ■กฏหมายพิจารณาความแพ่ง เป็นกฏหมายว่าด้วยข้อบังคับที่ใช้ในการดำเนินคดีเมื่อเกิดคดีความทางแพ่ง

         สำหรับประเทศไทย ได้รวมกฏหมายแพ่งและกฏหมายพาณิชย์ไว้เป็นฉบับเดียวกัน เรียกว่า ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์



    1.5.ศักดิ์ของกฎหมาย
         1. รัฐธรรมนูญ

         2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
         3. พระราชบัญญัติ
         4. พระราชกำหนด
         5. พระราชกฤษฎีกา
         6. กฎกระทรวง
         7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แบบทดสอบ

http://www.exam.in.th/dance/


          

 
Copyright 2010 pichaya. Powered by Blogger
Blogger Templates created by DeluxeTemplates.net
Wordpress by Wpthemescreator
Blogger Showcase